อุดมการณ์เอสซีจี
SCGP ยึดมั่นใน “อุดมการณ์” ของเอสซีจีที่สืบต่อกันมาในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม โดยคณะกรรมการบริษัท ฝ่ายจัดการ ตลอดจนพนักงานทุกระดับได้ยึดถือปฏิบัติตามอุดมการณ์นี้มาอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้ SCGP ได้รับความเชื่อถือในฐานะองค์กรชั้นแนวหน้าที่ดำเนินธุรกิจอย่างเปิดเผย โปร่งใส และตรวจสอบได้ และปฏิบัติต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม
ตั้งมั่นใน อุดมการณ์เอสซีจี
มุ่งมั่นใน ความเป็นเลิศ
เชื่อมั่นใน คุณค่าของคน
ถือมั่นใน ความรับผิดชอบต่อสังคม
Open & Challenge
open เปิดใจเรียนรู้ เปิดรับความต่าง
challenge ท้าทายตนเอง เพื่อสิ่งที่ดีกว่าเดิม
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
SCGP กำหนดนโยบายดำเนินธุรกิจเพื่อตอบสนองต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goals, SDGs) ด้วยคำมั่นสัญญาของบริษัท คือ “มุ่งมั่นสร้างสรรค์เพื่อสิ่งที่ดีกว่า” (Passion for Better) โดยสร้างความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ด้วยการกำหนดกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจให้สามารถเติบโตได้ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คำนึงถึงความต้องการและความคาดหวังทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกกลุ่ม พัฒนาประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่อุปทาน ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยของเสีย เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า โดยสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
การดำเนินธุรกิจต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งหมด 9 เป้าหมาย
มีสุขภาพและ ความเปนอยูที่ดี
(GOOD HEALTH AND WELL-BEING) รับรองการมีสุขภาพและ ความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน ในช่วงอายุ
ความเทาเทียม ทางเพศ
(GENDER EQUALITY) บรรลุความเท่าเทียม ทางเพศ พัฒนาบทบาท สตรีและเด็กผู้หญิง
การจัดการนํ้า และสุขาภิบาล
(CLEAN WATER AND SANITATION) รับรองการมีน้ำใช้ การจัดการนํ้าและ สุขาภิบาลที่ยั่งยืน
พลังงานสะอาด ที่ทุกคนเขาถึงได
(AFFORDABLE AND CLEAN ENERGY) รับรองการมีพลังงาน ที่ทุกคนเข้าถึงได้ เชื่อถือได้ ยั่งยืน ทันสมัย
การจางงานที่มี คุณคาและการเติบโต ทางเศรษฐกิจ
(DECENT WORK AND ECONOMIC GROWTH) ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ต่อเนื่อง ครอบคลุมและยั่งยืน รวมถึงการจ้างงานที่มีคุณค่า
อุตสาหกรรมนวัตกรรม โครงสรางพื้นฐาน
(INDUSTRY, INNOVATION, AND INFRASTRUCTURE) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการปรับตัวให้เป็น อุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนและทั่วถึง สนับสนุนนวัตกรรม
แผนการบริโภคและ การผลิตอยางยั่งยืน
(RESPONSIBLE CONSUMPTIONv AND PRODUCTION) รับรองแผนการบริโภคและ การผลิตที่ยั่งยืน
การรับมือ การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ
(CLIMATE ACTION) ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบ
การใชประโยชนจาก ระบบนิเวศทางบก
(LIFE ON LAND) ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริม การใช้ประโยชน์จาก ระบบนิเวศทางบกที่ยั่งยืน
ประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน
SCGP ได้รวบรวมและจัดลำดับความสำคัญของประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินธุรกิจ โดยอ้างอิงตามแนวทางของ Global Reporting Initiative (GRI) Standards และใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเข้ามาดำเนินการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้สามารถบริหารจัดการประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างเหมาะสม
ขั้นตอนการประเมินประเด็นสำคัญด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน
รวบรวมประเด็นด้านการพัฒนา ที่ยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน (การจัดหาวัตถุดิบ/การผลิต/ การขนส่งและจัดจำหน่าย/ การใช้สินค้าและบริการ)
ประเมินความสำคัญของประเด็น จากผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสีย
ประเมินความสำคัญของประเด็นจากผลกระทบที่มีต่อบริษัท
จัดลำดับความสำคัญของประเด็นในภาพรวม